วันเสาร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 16

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 16

วันที่ 11 พฤษภาคม 2560 เวลา 9.00 - 12.00


สัปดาสุดท้ายของการเรียน

          วันนี้เป็นวันสุดท้ายของการเรียนในรายวิชา สื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย ได้จัดแสดงสื่อสำหรับเด็กปฐมวัยทั้งหมดที่นักศึกษาได้ทำมาทั้งเทอมที่โรงเรียนสาะิตมหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม 
 
ประมวลภาพทั้งหมด


























ความประทับใจ  
 สอนให้มีความอดทนมากขึ้นค่ะ โดยเฉพาะเวลาทำสื่อถึงแม้ว่าจะไม่ชอบงานทำสื่อแต่ก็สามารถทำได้สำเร็จทุกชิ้นงาน  ทุกคนตั้งใจกับการเรียนมากๆ อาจารย์สอนสนุกดีค่ะ เป็นกันเอง รู้สึกว่าอิ่มเอมใจมากที่สุดที่ได้เรียนวิชานี้ ได้ความรู้เยอะมากมาย ขอบคุณอาจารย์บาสและเพื่อนๆทุกคนนะคะ



บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 15

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 15

วันอังคารที่ 25 เมษายน 2560 เวลา 14.30 - 17.30


นำเสนอสื่อสำหรับเด็กปฐมวัย
ที่ทำจาก  https://www.facebook.com/printsheets/ เพจ 拼學趣


              ได้รู้จักสื่อที่หลายหลายที่เพื่อนทำมา สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในอนาคตได้


การประเมิน
ตนเอง : สนุกกับการเรียน 
เพื่อน : สนุกกับการนำเสนอสื่อ
อาจารย์ : ให้ความรู้เพิ่มเติม ชี้แนะ




บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 14

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 14

วันที่ 18 เมษายน 2560 เวลา 14.30 - 17.30

การจัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียน
วันนี้อาจารย์ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับการสัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียนว่าสื่อที่จำเป็นจะต้องมีในห้องเรียนปฐมวัยนั้นควรจะต้องมีอะไรบ้าง  ซึ่งในห้องเรียนของเด็กปฐมวัยนั้นสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยก็คือ

                                 1. ปฏิทิน
                                 2. บอร์ดสมาชิก
                                 3. บอร์ดวันเกิด
                                 4. ธนาคารคำ
                                 5. สภาพอากาศ
                                 6. ป้ายนิเทศ
                                 7. กิจกวัตรประจำวัน
          และในช่วงนี้โรงเรียนของเด็กๆ ก็ใกล้ที่จะเปิดเทอมแล้ว อาจารย์จึงสั่งการบ้าน(งานกลุ่ม) ให้นักศึกษาทำสื่อเพื่อนำมาใช้กับห้องเรียนของเด็กปฐมวัย โดยให้ทำสื่อดังนี้
     
- ชาร์ตเพลง คู่ละ 1 เพลง  (งานคู่)

กลุ่มที่ 1  กิจวัตรประจำวัน + สภาพอากาศ     (กลุ่ม 8 คน)
กลุ่มที่ 2  บอร์ดวันเกิด + บอร์ดสมาชิก          (กลุ่ม 7 คน)             
กลุ่มที่ 3  ป้ายนิเทศ + ธนาคารคำ                (กลุ่ม 8 คน) 


ารประเมิน
ตนเอง : ตั้งใจมาเรียน  ฟังอาจารย์อธิบายงาน
เพื่อน : ตั้งใจมาเรียน ฟังอาจารย์
อาจารย์ : ให้ความรู้ ชี้แนะ เพื่อให้นักศึกษามีแนวทางในการทำงาน

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 13

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 13

วันที่ 28 มีนาคม 2560 เวลา 14.30 - 17.30

                                                 เกมการศึกษา "ลอตโต้" 


อุปกรณ์
     1. กระดาษ A4
     2. สีไม้
     3. กระดาษแข็ง
     4. กระดาษชานอ้อย 
     5. สติกเกอร์ใส
     6. กรรไกร คัดเตอร์
     7. กาว

ขั้นตอนการทำ

1. วาดรุปและตีกรอบตามรูปภาพ จากนั้นระบายสีให้สวยงาม และนำไปแปะกับกระดาษชานอ้อยแล้วตัด



2. วาดรูปที่ผักแยกออกมา 6 รูปโดยที่มีอยู่ในภาพ 3 รูป และตัวหลอกอีก 3 รูป จากนั้นนำรูปที่วาดไปแปะกับกระดาษชานอ้อย และตัดออกมา

3.  นำมาซีนกับสติกเกอร์ใสเพื่อป้องการสื่อชำรุด


การประเมินผล
 ตนเอง : ตั้งใจทำ
 เพื่อน : ตั้งใจทำ และสนุกสนานกับสิ่งที่ทำ
อาจารย์ : สอนดี มีการเล่นมุกเพื่อคลายเตลียด



บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12

วันที่ 21 มีนาคม 2560 เวลา 14.30 - 17.30


                                          สื่อสำรับเด็กปฐมวัย
จากเว็บhttps://www.facebook.com/printsheets/ เพจ 拼學趣








การประเมินผล
 ตนเอง : ตั้งใจทำสื่อ
 เพื่อน : ตั้งใจทำสื่อ และสนุกสนานกับสิ่งที่ทำ
 อาจารย์ : อาจารย์สอนดี เข้าใจง่าย  



บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 11

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 11

วันที่ 14 มีนาคม 2560 เวลา 14.30 - 17.30



 อาจารย์บาสสอนสื่อ 2 ชิ้น ชิ้นแรกทำเป็นเครื่องดนตรีที่ง่ายและสวยงาม 


                                           


                                      สื่อเครื่องเคาะจังหวะสำหรับเด็กปฐมวัย

  

ชิ้นที่ 1  
                                   

 เขย่าสิดอกไม้


อุปกรณ์
- กระดาษ
- ตะเกียบ
- ลูกปัด
- กาวร้อน
- คัตเตอร์
- เทป
- กรวยกระดาษ
- กรวย


ชื้นที่ 2







 



 


 

อุปกรณ์

- กระดาษสี 
- คัตเตอร์
- กาว
- ตะกียบ
ขั้นตอนในการทำ







                                 

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10 (เรียนชดเชย)

วันที่ 9 มีนาคม 2560 เวลา 14.30 - 17.30


สื่อการเรียนรู้เรื่อง "วัฏจักร" สำหรับเด็กปฐมวัย


เด็กปฐมวัยก็สามารถเรียนรู้เรื่องวัฏจักรได้ แต่ต้องเป็นวัฏจักรที่ง่ายและไม่ซับซ้อน วันนี้เราจึงมาสอนการทำสื่อการเรียนรู้เรื่อง "วัฏจักร" สำหรับเด็กปฐมวัย
           
อุปกรณ์
     1. กระดาษ A4
     2. กระดาษร้อยปอนด์ขนาด A4 
     3. กาว
     4. กรรไกร
     5. สีไม้
     6. วงเวียน
     7. อุปกรณ์เครื่องเขียนไว้ให้สำหรับการวาดภาพ

 ขั้นตอนการทำ
    
       1. วาดรูปวัฏจักรที่เราอยากให้เด็กเรียนรู้ลงไป และระบายสีให้สวยงามลงในกระดาษ A4
       2. ใช้วงเวียนวงในขนาดที่พอดี วาดลงในกระดาษร้อยปอนด์ และแบ่งสัดส่วนตามวัฏจักร เช่น เลือกวัฏจักรของดอกทานตะวัน เราก็จะแบ่งเป็น 4 ส่วนเท่าๆ กัน จากนั้นก็วาดวัฏจักรลงไป โดยการวาดวัฏจักรจากต้นไปหาปลายให้วาดแบบทวนเข็มนาฬิกา เพราะเวลาหมุนในมุมบนขวาจะออกมาเป็นตามเข็มนาฬิกา
      3. ให้ตัดกระดาษเพื่อล็อกตัววงล้อให้หมุน
      4.ตัดมุมบนขวาให้พอดีกับสัดส่วนของวงล้อ
      5. ทากาวประกบ ให้ใช้แผ่นรองเป็นกระดาษร้อยปอนด์ขนาด A4  


     การประเมิน
ตนเอง : ตั้งใจทำ ใส่ใจงานที่อาจารย์มอบหมาย
 เพื่อน : ตั้งใจทำ และสนุกสนานกับสิ่งที่ทำ
 อาจารย์ : สอนดี เข้าใจง่าย และยังคอยช่วยเหลือนักศึกษาในการประกอบสื่อ

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3

บทที่ 3
สื่อ การเล่นเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย


   

สื่อ การเล่นเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย
             “สื่อ” หมายถึง สิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบๆ ตัวเด็ก คือ สิ่งที่มีชีวิต สิ่งที่ไม่มีชีวิต สิ่งที่ประดิษฐ์ขึ้น ได้แก่ คน สัตว์ พืชผัก ผลไม้ สิ่งของเครื่องใช้ เครื่องเล่น วิทยุ โทรทัศน์ ภาพยนตร์ เทป ยานพาหนะ ฯลฯ สิ่งที่เหล่านี้เมื่อเด็กได้พบเห็น หรือจับต้องก็จะทำให้เกิดการเรียนรู้ ทั้งมีส่วนช่วยให้เด็กพัฒนาทางกาย อารมณ์จิตใจ สังคม และสติปัญญา
ลักษณะของสื่อ
ชัยยงค์ พรหมวงศ์ ได้แบ่งสื่อ ออกเป็น 3 ประเภท
1. สื่อการสอนประเภทวัสดุ สามารถจำแนกเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ได้ 2 กลุ่ม
     - วัสดุการสอนที่ครูจัดทำหรือจัดหามา
     - วัสดุการสอนที่มีผู้จัดทำจำหน่าย เช่น สิ่งพิมพ์ ภาพชุด เทปโทรทัศน์ เทปเสียง เป็นต้น
2.สื่อการสอนประเภทอุปกรณ์
     - เครื่องเสียง
     - อุปกรณ์ประกอบเครื่องฉาย
     - อุปกรณ์ที่ไม่เกี่ยวกับการใช้เสียงหรือให้ภาพ
3. สื่อการสอนประเภทวิธีการ
     - การสาธิต
     - การทดลอง 
     - เกม 
     - การแสดงบทบาทสมมติ
     - การจำลองสถานการณ์ 
     - การฝึกปฏิบัติจริงหลังการสนทนาเนื้อหา
     - ทัศนศึกษา 
     - กิจกรรมอิสระ 
     - กิจกรรมที่จัดขึ้นตามโครงการ
ความสำคัญของสื่อการสอนระดับปฐมวัย
     1) สื่อเป็นหัวใจของการจัดกิจกรรมเตรียมความพร้อมให้เด็ก ได้รับประสบการณ์ตรง
     2) สื่อช่วยให้เด็กได้เรียนรู้จากสิ่งที่เป็นรูปธรรม และเกิดมโนทัศน์ตรงกับข้อเท็จจริง
     3) ช่วยสร้างความสนใจของเด็กและเป็นสิ่งเร้าให้เด็กสนใจที่จะทำกิจกรรมและเกิดการเรียนรู้ได้ดี
     4) ช่วยให้เด็กจดจำสิ่งต่าง ๆ ได้ง่ายและไม่ลืม
     5) ช่วยอธิบายสิ่งที่ยากให้เข้าใจง่าย ช่วยให้คุณภาพการเรียนรู้ดีขึ้น
     6) ช่วยให้เรียนรู้ได้เร็ว ใช้เวลาอธิบายน้อย เรียนรู้ได้ปริมาณมาก
     7) สื่อช่วยสร้างเจตคติที่ดีให้เกิดกับเด็ก
     8) สื่อเป็นสิ่งเร้าที่เด็กสามารถใช้ประสาทสัมผัส
     9) ช่วยส่งเสริมการคิดและการแก้ปัญหา
    10) สื่อช่วยให้เด็กเกิดจินตนาการ
    11) สื่อช่วยตอบสนองความสนใจ อยากรู้อยากเห็นตามธรรมชาติ
    12) เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ครูได้พัฒนาเด็กได้อย่างเต็มศักยภาพ
    13) ช่วยให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของเด็กดีขึ้น
    14) ช่วยพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในด้านต่าง ๆ
    15) เป็นศูนย์รวมความสนใจเด็ก และทำให้บทเรียนน่าสนใจ
ลักษณะของสื่อการสอนระดับปฐมวัย
     1. มีลักษณะที่สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็ก
     2. มีขนาดเหมาะสมกับเด็กและขนาดของมือเด็ก
     3. มีคุณค่าต่อพัฒนาการด้านต่าง ๆ ของเด็ก
     4. ใช้ประสาทสัมผัสได้มากและหลายส่วน
     5. มีสีสันสวยงาม สดใสไม่สะท้อนแสง
     6. มีความทนทาน น้ำหนักเบา ไม่แตกหักง่าย ไม่แหลมคม
     7. มีรายละเอียดน้อย ง่าย (เหมาะสมกับวัย)
     8. มีลักษณะเป็นมิติ ซึ่งเด็กจะสนใจและเข้าใจได้ดีกว่า
     9. เป็นสื่อที่สอดคล้องกับเรื่องที่เด็กสนใจ และต้องการเรียนรู้
     10. สามารถเปลี่ยนแปลงรูปแบบหรือปรับเปลี่ยนรูปแบบได้
การจัดระบบสื่อเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็ก
1. การเลือกสื่อ
     1. ต้องมีความปลอดภัย สื่อที่จะสร้างขึ้นหรือเลือกให้เด็ก ครูควรคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นอันดับแรก ต้องทำด้วยวัสดุที่ไม่เป็นพิษเป็นภัยต่อเด็ก พื้นผิวของวัตถุเรียบ ขนาดและน้ำหนักเหมาะสม
    2. คำนึงถึงประโยชน์ ที่เด็กได้รับ สามารถเร้าให้เด็กอยากรู้อยากเห็น กระตุ้นพัฒนาการ และต้องคำนึงถึงประโยชน์ที่มีต่อกล้ามเนื้อและการเคลื่อนไหว
     3. ความประหยัด ทั้งเงิน ค่าใช้จ่ายในการผลิตไม่สูงเกินไป ประหยัดในแง่ของวัสดุ
     4. ด้านประสิทธิภาพ ต้องใช้ได้หลายอย่าง หลายโอกาส และให้เด็กได้ประสบการณ์ตรง
2. วิธีการเลือกสื่อ
      - เลือกให้ตรงกับจุดมุ่งหมาย
      - เลือกให้เหมาะสมกับวัยและความสามารถ
      - เลือกใช้ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของท้องถิ่น
      - มีวิธีการใช้ง่าย ๆ และนำไปใช้ได้หลาย ๆ วิธี
      - มีความถูกต้องตามเนื้อหาและมีความทันสมัย
      - มีคุณภาพดี
      - เลือกสื่อที่เด็กเข้าใจง่ายในเวลาสั้น ๆ ไม่ซับซ้อน
      - สื่อที่เลือกเป็นสื่อที่สามารถสัมผัสได้
      - เลือกสื่อเพื่อใช้ฝึกและส่งเสริมการคิด
      - เลือกสื่อให้เหมาะสมกับเวลาที่ใช้
หลักการผลิตสื่อการเรียนการสอน
     1. สำรวจ
ความต้องการในการใช้สื่อ
     2. วางแผนในการผลิต
     3. ดำเนินการผลิตตามรูปแบบที่ได้วางแผนไว้
     4. ทดสอบคุณสมบัติของสื่อที่ผลิตขึ้น
     5. นำสื่อที่ปรับปรุงแก้ไขแล้วไปใช้จริง
ขั้นตอนการใช้สื่อ
     1) เตรียมตัวครู โดยครูต้องดูสื่อ สังเกตก่อนว่า สอนอย่งไร นำอย่างไร
     2) เตรียมตัวเด็ก โดยเตรียมตัวให้เด็กมีความพร้อมก่อนใช้สื่อ เช่น ทำให้เด็กสงบ หรือพูดคุยในเรื่องกฎ กติกา
     3) เตรียมสื่อ ว่าสื่อชิ้นนั้นมีความพร้อมหรือไม่ สมบูรณ์หรือไม่ และที่สำคัญต้องตรวจสอบทั้งก่อน - หลังทำกิจกรรมว่าสื่อนั้นอยู่ครบหรือไม่
การนำเสนอสื่อ
     1. สร้างความพร้อมและเร้าความสนใจ
     2. ใช้สื่อตามลำดับขั้นของแผนการจัดกิจกรรม
     3. ควรอยู่ด้านข้างหรือด้านหลังของสื่อที่ใช้ ไม่ควรยืนหันหลังให้เด็ก
     4. ไม่ควรให้เด็กเห็นสื่อหลาย ๆ ชนิดพร้อมกัน
     5. เปิดโอกาสให้เด็กได้ร่วมกิจกรรมในการใช้สื่อนั้น
     6. ควรสังเกต หรือให้ความสนใจคำถาม คำพูดของเด็ก
การประเมินการใช้สื่อ
     1. สื่อนั้นช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้เพียงใด
     2. เด็กชอบสื่อชนิดนั้นเพียงใด
     3. สื่อช่วยให้การสอนนั้นสอนได้ตรงกับจุดมุ่งหมาย
     4. สื่อนั้นช่วยให้เด็กสนใจมากน้อยเพียงใด และสนใจเพราะเหตุใด
การเก็บรักษาและซ่อมแซมสื่อ
     1. ควรตรวจสอบสื่อหลังจากที่ใช้แล้วทุกครั้ง ว่ามีสภาพสมบูรณ์
     2. ควรฝึกให้เด็กช่วยกันเก็บรักษาสื่อของครู
     3. เก็บสื่อให้เป็นระเบียบและเป็นหมวดหมู่
     4. ฝึกให้เด็กหยิบสื่อออกมาใช้ได้เอง และเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย
     5. ควรซ่อมแซมสื่อที่ชำรุด
สื่อการสอนเดินได้
         การเรียนการสอนนั้นบางครั้งแม้ไม่มีสื่ออยู่ในมือเลย การเรียนการสอนก็ประสบผลสำเร็จได้เพราะครูและสิ่งที่ครูมีอยู่ในตัว เช่น
     1) สายตา
     2) สีหน้า
     3) น้ำเสียง
สื่อเพื่อการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย

ของเล่น
           สิ่งของหรือวัสดุ – อุปกรณ์ ที่นำมาให้เด็กเล่น บางทีก็เรียกว่า เครื่องเล่น อาจรวมถึงอุปกรณ์ดนตรีอุปกรณ์ทางด้านพลานามัย และอื่น ๆ ซึ่งของเล่นหรือเครื่องเล่นนั้นเป็นสื่อที่ช่วยให้เด็กได้รู้จัก ได้ใช้ได้จัด ได้กระทำ หรือประดิษฐ์คิดสร้าง ของเล่นนั้นมีหลากหลายอย่่างด้วยกัน เช่น
     1) ของเด็กเล่น
     2) เครื่องกีฬา
     3) เครื่องดนตรี
การจัดประเภทของเล่นตามทฤษฎีเชิงรู้คิด
     1. ของเล่นประเภทที่เด็กเล่นเพื่อการรับรู้
     2. เรียนรู้ด้วยวิธีใช้ความคิด หาวิธีลองทำเพื่อแก้ปัญหา
     3. ของเล่นประเภทที่ช่วยให้เด็กได้ลงมือทำ
     4. ของเล่นที่เด็กเลียนแบบและการแสดงบทบาท
     5. การเล่นเพื่อพัฒนาภาษา
การเลือกของเล่นเพื่อความปลอดภัย
         เนื่องจากการเล่นกับของเล่นนั้น เด็กจะต้องคลุกคลีและใช้อวัยวะสัมผัสกับของเล่นอยู่ตลอดเวลา ในการเลือกของเล่นสำหรับเด็ก จึงควรระมัดระวังและพิจารณาในแง่ของความปลอดภัยให้มาก ซึ่งอาจพิจารณาได้ในส่วนต่าง ๆ ดังนี้
      1. วัสดุที่ใช้ผลิต
      2. ส่วนประกอบ
      3. โครงสร้าง
คุณสมบัติของของเล่นที่ดี
     1. เป็นของเล่นที่ผู้เล่นมีโอกาสใช้ประสาทสัมผัสต่าง ๆ
     2. เป็นของเล่นที่เหมาะสมกับอายุ พัฒนาการ
     3. ของเล่นนั้นควรใช้ในกิจกรรมการเล่นหลาย ๆแบบ
     4. เป็นของเล่นที่ช่วยฝึกการเคลื่อนไหวของส่วนต่าง ๆ
     5. เป็นของเล่นที่กระตุ้นให้เด็กได้เล่นเป็นกลุ่ม
     6. เป็นของเล่นที่มีความปลอดภัย ทำจากวัสดุปราศจากพิษ
     7. เป็นของเล่นที่สามารถนำมาเล่นได้เอง
     8. ควรเป็นของเล่นที่แพร่หลาย เด็ก ๆ นิยมกันทั่วไป
วัตถุประสงค์ของการเล่นที่ใช้เครื่องเล่นของเด็ก
     1. เพื่อเพลิดเพลิน
     2. เพื่อพัฒนาการทางร่างกาย
     3. เพื่อพัฒนาการด้านอารมณ์
การเลือกเครื่องเล่นที่ปลอดภัย
     1. ให้การศึกษาเกี่ยวกับเครื่องเล่นที่มีคุณสมบัติที่ดี
     2. สิ่งบรรจุเครื่องเล่นควรมีคำอธิบาย คำแนะนำแสดงไว้
     3. ผู้ซื้อเครื่องเล่นควรพิจารณาเลือกประเภทให้ถูกต้องตามความเจริญเติบโต
     4. เครื่องเล่นควรเป็นชนิดที่ทำความสะอาดได้ง่าย
     5. เครื่องเล่นที่ผู้ใหญ่ไม่แน่ใจว่าเด็กจะเล่นได้ปลอกภัยหรือไม่
     6. เด็กต่างวัยกันไม่ควรเล่นเกมกีฬาประเภทเดียวกันร่วมกัน
ทฤษฎีและพัฒนาการการเล่นของเด็กปฐมวัย
         การเล่นเป็นโอกาสที่เด็กจะได้ศึกษาสิ่งแวดล้อมรอบตัว มีความเข้าใจสิ่งแวดล้อมและสังคม ช่วยให้เด็กเกิดการปรับตัวให้เข้ากับสังคมและอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขและเป็นโอกาสของการฝึกฝนในเรื่องของความรับผิดชอบ ทั้งนี้ รูดอล์ฟ (Rudolph, 1984, p. 95) ได้สรุปไว้เป็นองค์ประกอบของการเล่นได้ 3 ประการ ดังนี้
      1. การเล่นนำไปสู่การค้นพบเหตุผลและความคิด
      2. การเล่นเป็นการเชื่อมโยงระหว่างเด็กกับสังคม
      3. การเล่นเป็นการนำเด็กไปสู่ภาวะความสมดุลทางอารมณ์
ความสำคัญของการเล่น
           เพียเจท์ (เยาวพา เดชะคุปต์. 2528:12 อ้างอิงมาจาก Piaget.N.d.) ได้กล่าวเอาไว้ว่า การเล่นมีความสำคัญต่อพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก จากการเล่น เด็กจะสามารถแยกแยะสิ่งต่างๆ จากสิ่งเร้าได้ และขณะที่เด็กตอบสนองสิ่งเร้าเด็กจะรับรู้สิ่งต่างๆ เข้ามาในสมองได้ดังนี้
      1) บทบาทของการเล่น คือ การระบายอารมณ์
      2) การเล่นช่วยให้เข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรม
      3) การเล่นเป็นการเรียนรู้ทางสังคม
การเล่นกับพัฒนาการด้านต่างๆ
     • ด้านร่างกาย               ทำให้เด็กได้พัฒนาในเรื่องของกล้ามเนื้อมัดเล็กและกล้ามเนื้อมัดใหญ่
     • ด้านอารมณ์ – จิตใจ    ให้เด็กได้มีความสนุกสนาน เพลิดเพลิน และมีความสุข
     • ด้านสังคม                 เด็กได้เรียนรู้ทักษะทางสังคมผ่านการเล่น เช่น การเล่นขายของ
     • ด้านสติปัญญา            ให้เด็กได้พัฒนาความคิด มีจินตนาการ และคิดอย่างสร้างสรรค์
พัฒนาการและการเล่นของเด็ก
     1.อายุ 0–2 ปี
             เป็นการเล่นแบบทารก เด็กจะใช้ตัวเองและอวัยวะไปสัมผัสกับสิ่งต่าง ๆ โดยอาศัยสมรรถภาพทางกายกระทำกิจกรรมที่เคลื่อนไหว ใช้ประสาทสัมผัส เพื่อรับรู้และมีการกระทำที่ซ้ำ ๆ
     2. อายุ 2–3 ปี
          เป็นขั้นการเล่นที่ใช้สัญลักษณ์ วัยนี้เด็กจะมีพัฒนาการทางสติปัญญาเพิ่มขึ้น มีความกระตือรือร้น อยากรู้ อยากเห็น ร่างกายก็มีความสามารถเพิ่มขึ้น
     3. อายุ 3–6 ปี
              เป็นขั้นการเล่นที่สื่อความคิด เด็กจะเล่นด้วยการสมมติตนเอง สิ่งของ หรือวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ แทนของจริงที่ไม่มีอยู่ในที่นั้นได้ วัยนี้เด็กจะเริ่มเล่นเป็นกลุ่ม มีความคิดและจินตนาการในการเล่นที่แสดงออกถึงการเรียนรู้ทางสังคม
พฤติกรรมการเล่นของเด็ก
เมื่อเด็กได้เล่นเด็กจะมีพฤติกรรม ดังนี้
     1. การเล่นเลียนแบบ (Imitation)
     2. การสำรวจ (Exploration)
     3. การทดสอบ (Testing)
     4. การสร้าง (Construction)
ประโยชน์ของการเล่น
             ซูซาน ไอแซค (Susan Isaacs) ได้ศึกษาวิจัยผลของการเล่นที่ก่อให้เกิดประโยชน์อย่างยิ่งกับเด็กปฐมวัย ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้
      1. การเล่นทำให้เกิดการเรียนรู้
      2. การเล่นช่วยส่งเสริมความสามารถทางการคิดและสติปัญญา
      3. การเล่นช่วยส่งเสริมพัฒนาการทางสังคม
      4. การเล่นช่วยส่งเสริมพัฒนาการทางอารมณ์
      5. การเล่นช่วยส่งเสริมพัฒนาการทางร่างกาย

ในเรื่องของสื่อนั้นทุกสิ่งทุกอย่างรอบตัวเราสามารถเป็นสื่อได้หมด อยู่ที่ว่าเราจะสอนอะไร เรื่องอะไร สื่อบางอย่างไม่ต้องเตรียมมันก็มีอยู่่รอบตัว ซึ่งเราสามารถนำมาบูรณาการได้ สื่อมีทั้งสิ่งมีชีวิต ไม่มีชีวิต มีทั้งธรรมชาติและมนุษย์สร้างขึ้น ซึ่งคนเป็นครูปฐมวัยนั้น จะต้องเลือกสื่อที่เหมาะกับเด็ก เหมาะกับพัฒนาการ และควรดูว่าสื่อนั้นจำเป็นหรือไม่ที่จะให้เด็กได้เรียนรู้ สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ สื่อที่ใช้นั้นควรเป็นของจริง เพื่อให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ในการเรียนรู้ได้ดีที่สุด


การประเมินผล
 ตนเอง : ตั้งใจทำสื่อ 
 เพื่อน : ตั้งใจทำ และสนุกสนานกับการทำสื่อ


อาจารย์ : สอนเข้าใจได้ง่าย  แนะนำวิธีการทำได้ดีมากค่ะ