บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 2
วันศุกร์ ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2560เนื้อหาที่เรียน
บทที่ 1
ธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
ธรรมชาติและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
วัยเด็กตอนต้นหรือช่วงปฐมวัยเป็นช่วงวัยที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ในการอบรมเลี้ยงดูควรให้ความสนใจและให้ความสำคัญ เพราะเป็นช่วงวัยที่มีความสำคัญที่สุด ต่อการวางรากฐานของชีวิตมนุษย์ เป็นวัยแห่งการก่อเกิดพื้นฐานด้านบุคลิกภาพ ลักษณะนิสัย ความสามารถทางสติปัญญา และความสามารถด้านต่าง ๆ การเข้าใจธรรมชาติและการเรียนรู้
ธรรมชาติของเด็กปฐมวัย
- ลักษณะของการยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง
- มีความสามารถในขอบเขตจำกัดและแตกต่างกัน
- ต้องการการเอาใจใส่ดูแลทั้งด้านร่างกายและจิตใจ
- เป็นวัยที่ชอบอิสระ
- ชอบแสดงออกและต้องการการยอมรับ
- ชอบเล่น
- มีช่วงความสนใจสั้น
การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
ลักษณะการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
1. การเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง เป็นการเรียนรู้ที่เด็กได้พบหรือสัมผัสกับประสบการณ์ จากสภาพแวดล้อมโดยการกระทำ การรับรู้ การพบเห็นด้วยตนเอง
2. การเรียนรู้จากประสบการณ์ทางอ้อม เป็นการเรียนรู้จากการบอกเล่าของบุคคลต่าง ๆ คนใกล้ชิด
ธรรมชาติของการเรียนรู้
การเรียนรู้เป็นกระบวนการซึ่งมีขึ้นตอน ดังนี้
1. มีสิ่งเร้ามาเร้าผู้เรียน
2. ผู้เรียนรับรู้สิ่งเร้า
3. ผู้เรียนแปลความหมายของสิ่งเร้าที่รับรู้
4. ผู้เรียนมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งเร้าตามที่รับรู้และแปลความหมาย
5. ผู้เรียนสังเกตผลที่เกิดขึ้น
ธรรมชาติและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
โดยธรรมชาติของเด็กปฐมวัยรูปแบบของพัฒนาการทางร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา รวมทั้งการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมและเสาะแสวงหาประสบการณ์ จะมีลักษณะที่คล้ายคลึงกันเกือบทุกชาติ ทุกเผ่าพันธุ์ หากแต่สภาพแวดล้อมทั้งทางกายภาพและจิตภาพที่แวดล้อมรอบตัวเด็กนั่นเอง
ที่ทำให้อัตราการพัฒนาช้า-เร็วแตกต่างกัน
การจำแนกลักษณะการเรียนรู้ของเด็ก
ลักษณะที่ 1 การเรียนรู้โดยสัญชาตญาณ
ลักษณะที่ 2 เป็นการเรียนรู้จากการช่วยเหลือจากพ่อแม่
ลักษณะที่ 3 การเรียนรู้จากโปรแกรมการพัฒนาพฤติกรรมอย่างมีระบบ
รูปแบบการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
1. การเรียนรู้โดยใช้ความสามารถในการใช้สายตา เป็นการเรียนรู้ที่เด็กสามารถเปรียบเทียบด้วยสายตา ด้วยการมองเห็นความต่างความ
เหมือน สี ขนาด รูปร่าง และเป็นการเรียนรู้ที่เกิดจากการทำงาน
ประสานสัมพันธ์ของสายตาและกล้ามเนื้อมือ
2. การเรียนรู้โดยการได้ยิน ได้ฟัง จากการได้ยินได้ฟังเสียงจากที่ต่างๆ หรือจากบุคคล เด็กจะสามารถรู้ที่มาของเสียง สามารถแยกความ
เหมือนความต่างของเสียงได้
3. การเรียนรู้โดยการใช้ส่วนต่างๆ ของร่างกาย ในการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกาย
กระบวนการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นตลอดเวลาในช่วงชีวิตของแต่ละคน และช่วงปฐมวัยเป็นช่วงที่มนุษย์สามารถเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ได้ดี โดยพัฒนาการการเรียนรู้ของเด็กสามารถพัฒนาได้สูงสุด เป็นโอกาสทองของการเรียนรู้ของมนุษย์ และเป็นช่วงวัยที่สมองกำลังไวต่อสิ่งกระตุ้น (Sensitive)
เมื่อเด็กอายุมากขึ้นเด็กจะมีพัฒนาการในการเรียนรู้เพิ่มขึ้นด้วย โดยเด็กปฐมวัยที่มีอายุ 3 - 6 ปีจะมีวิธีเรียนรู้ที่ซับซ้อนมากขึ้นกว่ากลุ่มอายุ 2-3 ปี จะสังเกตได้จากการสัมผัสสิ่งต่างๆแล้ว เด็กใช้การคิด การจินตนาการ การค้นคว้าและลงมือปฏิบัติเพื่อค้นหาสิ่งที่ตนอยากเห็นอยากรู้
ทักษะการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
ทักษะการเรียนรู้ของเด็กอายุ 2-3 ปี
- มีปฏิกิริยาโต้ตอบง่าย ๆ ได้
- ดูหนังสือภาพแล้วเรียกชื่อสิ่งที่ดูหรือเห็นจากภาพได้
- จับคู่สิ่งของได้ โดยรู้ความสัมพันธ์กัน
- เริ่มเรียนรู้ขนาดใหญ่-เล็ก
- จับภาพหน้าตาส่วนต่าง ๆ ของตนได้
- บอกได้ว่ากำลังทำอะไรอยู่
- เริ่มชอบเลียนแบบการทำงานของผู้ใหญ่
- มีช่วงความสนใจระยะสั้น ๆ
- เริ่มเข้าใจส่วนย่อย ๆ และส่วนรวมของสิ่งที่นำมารวมกัน
ทักษะการเรียนรู้ของเด็กอายุ 3-4 ปี
- สามารถจำสี จับคู่สีเหมือนกันได้มากกว่า 3 สี
- สามารถเข้าใจเปรียบเทียบขนาด ใหญ่ กลาง เล็กได้
- วาดภาพอย่างมีความหมาย และบอกชื่อภาพได้
- ชอบซักถามว่า ทำไม . . . .
- บอกชื่อ-นามสกุลได้ เมื่อได้รับการสอนให้จำ
- มีความสนใจช่วงระยะสั้น ๆ
- มีความเข้าใจเรื่องความคิดรวบยอด/มโนทัศน์ง่าย ๆ
- เริ่มเข้าใจความหมายของเวลาคร่าว ๆ
ทักษะการเรียนรู้ของเด็กอายุ 4-5 ปี
- สามารถพูดตามเป็นคำสัมผัส ท่องคำสัมผัส สัมผัสเสียงและจังหวะ
- ชี้บอกชื่อสีได้ตั้งแต่ 4-6 สี
- จับคู่สิ่งของที่ใช้ด้วยกัน หรือสิ่งของประเภทเดียวกันได้
- วาดภาพคนโดยมีส่วนต่าง ๆ ของคน ตั้งแต่ 2-6 ส่วน
- เปรียบเทียบส่วนต่าง ๆของร่างกายได้
- วาดภาพและบอกชื่อภาพที่วาดได้
- บอกชื่อสถานที่ที่บ้านตนตั้งอยู่ได้
- มีช่วงความสนใจยาวขึ้น
- มีความสนใจในความคิดรวบยอด
ทักษะการเรียนรู้ของเด็กอายุ 5-6 ปี
- สามารถเล่าทวนเรื่องที่ได้ยินให้ฟังได้
- ออกชื่อตัวพยัญชนะ ตัวเลขที่ตนจำได้ อ่านได้
- นับเลข เข้าใจความหมาย สัญลักษณ์ตัวเลขถึง 10
- จัดประเภท แยกสิ่งของที่มีคุณลักษณะแตกต่างกันได้
- รู้จักความหมายของการบอกเวลาได้ชัดเจนถูกต้อง เช่น เมื่อวานนี้ วันนี้ พรุ่งนี้
- จับอุปกรณ์เครื่องไม้เครื่องมือได้ถนัด
- มีความสนใจมากขึ้น อดทนเพราะอยากรู้จริง
- มีความเข้าใจในความคิดรวบยอดดี
พัฒนาการของเด็กปฐมวัย
เด็กปฐมวัย เป็นวัยพื้นฐานในการเตรียมความพร้อมที่จะก้าวเข้าสู่การพัฒนาของชีวิต เด็กจะเริ่มพัฒนาลักษณะความเป็นตัวของตัวเอง ให้ความสนใจในสิ่งรอบตัว และชอบตั้งคำถามในเรื่องต่าง ๆ เด็กจะพยายามและต้องการช่วยเหลือตนเอง
ความหมายของพัฒนาการ
• วอร์ทแมน และลอฟทัส (Wortrman and Loftus, 1992,) อธิบายว่า พัฒนาการเป็นแบบแผนการเจริญเติบโตและเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทุกด้านของบุคคลนับตั้งแต่กำเนิดชีวิตจนถึงวัยชรา
• รักตวรรณ ศิริถาพร (2548) ได้กล่าวว่า พัฒนาการเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เชื่อมโยงกันไปในทุก ๆ ด้าน ของมนุษย์ นับตั้งแต่ปฏิสนธิจนกระทั่งตายซึ่งมีทิศทางการเปลี่ยนแปลงที่แน่นอน และสามารถทำนายได้
• กระบวนการของการเจริญเติบโตที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นระบบระเบียบ ต่อเนื่องตามลำดับขั้นนำไปสู่การพัฒนาทางคุณภาพ พัฒนาการของมนุษย์เป็นการเปลี่ยนแปลงทางด้านการเจริญเติบโต ควบคู่กับการพัฒนาทางคุณภาพ อารมณ์ สติปัญญาและสังคม
ลักษณะของพัฒนาการ
ลักษณะของพัฒนาการ คือการเข้าใจวิถีชีวิตในวัยเด็กตั้งแต่แรกเกิดถึงอายุ 6 ปี
- พัฒนาการเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องกัน
- การพัฒนาจะมีทิศทางของพัฒนาการที่แน่นอน
- การพัฒนาจะมีทิศทางของพัฒนาการที่แน่นอน
- พัฒนาการเริ่มจากส่วนบนไปสู่ส่วนล่าง
- พัฒนาการเริ่มจากแกนกลางของลำตัว ไปสู่อวัยวะส่วนข้างที่ไกลออกไป
- พัฒนาการจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีแบบแผนและเป็นขั้นตอนไม่มีการข้ามขั้น
- อัตราพัฒนาการของเด็กแต่ละคนจะแตกต่างกัน
- ความก้าวหน้าของพัฒนาการ
- พัฒนาการจะมีความสัมพันธ์กัน
- พัฒนาการส่วนต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นของร่างกายมีอัตราในการพัฒนาไม่เท่ากัน
- พัฒนาการของเด็กแต่ละวัยจะมีลักษณะเฉพาะ
- พัฒนาการของมนุษย์มีความแตกต่างกัน
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการเด็กปฐมวัย
1. บุคคลภายในครอบครัว
2. บุคคลภายนอกครอบครัว
ความรู้ที่ได้รับ/การนำไปประยุกค์ใช้
1. รู้และเข้าใจถึงธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย ลักษณะการเรียนรู้ ปัจจัย พัฒนาการ การจัดกิจกรรมต่างๆ ของเด็กปฐมวัย
2. ในฐานะที่เราเป็นครูปฐมวัยเราต้องจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาเด็กให้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่สมบูรณ์แบบ
การประเมิน
ประเมินตัวเอง: ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน แต่ช่วงทเายๆมีอาการง่วงนอน
ประเมินเพื่อน: เพื่อนส่วนใหญ่ตั้งใจฟัง แต่ก็มีคนที่นอนหลับในห้องและเล่นโทรศัพท์เป็นบ้างคนค่ะ
ประเมินอาจารย์: อาจารย์สอนเข้าใจ แต่เนื้อหาที่เรียนเยอะเกินไปค่ะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น